“การรักษาที่ดีที่สุด”
ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงเอาอยู่
สุขภาพที่ยังดีอยู่ตอนนี้ ต่อไปจะยังดีอยู่หรือไม่ ? เป็นคำถามที่ไม่มีใครสามารถคาดเดาคำตอบได้ การวางแผนอนาคตเรื่องสุขภาพไว้ จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เพราะการเข้าโรงพยาบาลในแต่ละครั้ง ต้องมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่จำนวนน้อย ๆ และยิ่งถ้าเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งสูงตามไปด้วยเช่นกัน
ในยุคที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น การรักษาก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งตรวจพบเร็ว ก็ยิ่งมีโอกาสรักษาหายได้ไว แต่แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายที่ตามมาก็สูงขึ้นไปอีกขั้น ดังนั้น หลายคนคงสงสัยว่าการที่จะได้รับการรักษาที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ วิธีการรักษา หรือแม้กระทั่งการเดินทางไปรักษาที่ต่างประเทศนั้น จำเป็นต้องมีเงินอย่างน้อยเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ
ในบทความนี้ เราจะชวนมาดูตัวอย่างของโรคร้ายแรงที่คนไทยเป็นมากที่สุด รวมถึงเรื่องค่ารักษา เพื่อให้คุณเห็นภาพว่า หากป่วยเป็นโรคร้ายแรงขึ้นมา ควรมีเงินเท่าไหร่ถึงจะเอาอยู่ !
● โรคมะเร็ง
โรคมะเร็งเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับต้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปากมดลูก โดยมีค่าผ่าตัดเริ่มต้น 200,000 – 300,000 บาท รวมถึงค่าฉายแสง และเคมีบำบัดสูงสุด 300,000 – 800,000 บาทต่อครั้ง แต่หากเป็นการใช้การรักษาแบบยาพุ่งเป้า ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงต่ำ ค่าใช้จ่ายก็อาจสูงถึง 3 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว
● โรคหลอดเลือดสมอง
เฉพาะค่าผ่าตัดสมองแบบเปิดกะโหลก ก็เริ่มต้นที่ครั้งละ 500,000 บาทแล้ว แต่หากใช้เทคโนโลยีสำหรับรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง โดยใช้ขดลวดผ่านทางสายสวน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด และโอกาสพิการได้ จะมีค่ารักษาโดยประมาณครั้งละ 1 – 1.5 ล้านบาท
● โรคหัวใจ
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดหัวใจรวมกับการรักษา เริ่มต้นที่ 700,000 บาทต่อครั้ง และอาจสูงถึง 1.1 ล้านบาทต่อครั้ง กรณีใช้วิธีการผ่าตัดแบบปิดที่จะช่วยลดระยะเวลาในการพักฟื้น และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของแผลได้
จากตัวอย่างโรคร้ายแรงข้างต้น หากผู้ป่วยต้องการเข้ารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยขึ้นไปอีก หรือต้องการเดินทางไปรักษาตัวที่ต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งสูงตามขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว
ยกตัวอย่างการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจากโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เช่น การรักษาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ โดยค้นหาตำแหน่งความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจ แสดงเป็นภาพ 3 มิติ และใช้สายสวนจี้ที่จุดที่ผิดปกตินั้นด้วยคลื่นวิทยุ (CARTO Mapping) การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robotic surgery) ที่จะช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดผ่านแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยง และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว หรือการรักษาด้วยคลื่นความร้อน (Radiofrequency ablation)โดยใช้คลื่นความร้อนทำลายเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด และด้วยประสิทธิภาพการรักษาที่ดี ล้ำสมัยกว่าของเทคโนโลยีเหล่านี้ แน่นอนว่าก็ต้องมาพร้อมกับค่ารักษาที่สูงหลักล้านบาทด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ หากป่วยเป็นโรคร้ายแรง ค่าใช้จ่ายอาจไม่ได้จบเพียงค่ารักษาพยาบาลอย่างที่หลายคนคิด แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมา เช่น ค่าใช้จ่ายช่วงพักฟื้น ค่าตรวจติดตามกรณีรักษาต่อเนื่อง ค่าบำบัดฟื้นฟู ค่าคนดูแล ค่าใช้จ่ายในช่วงที่ขาดรายได้ และอื่น ๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ควรมีสำรองไว้อีกประมาณปีละ 600,000 – 1,000,000 บาท
ดังนั้น ถ้ารวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว โดยเบื้องต้นควรมีเงินสำรองไว้ประมาณ 3 ล้านบาท ถึงจะเอาอยู่ ซึ่งสำหรับหลาย ๆ คน การใช้เงินจำนวนนี้กับการรักษาตัว เป็นเรื่องที่ไม่ได้อยากให้เกิดขึ้นแน่นอน เพราะสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุด คือความเป็นอยู่ของคนที่อยู่ข้างหลัง โดยเฉพาะสำหรับคนที่เป็นเสาหลักของบ้าน การทำประกันจึงเป็นการวางแผนทั้งเรื่องสุขภาพ และการเงิน เพื่อให้คุณ และครอบครัวสามารถก้าวผ่านวิกฤตไปได้อย่างหมดห่วง
แผนสำรองที่ดีที่สุด ! ถ้าทำประกันสุขภาพกับ AIA Infinite Care (new standard) ที่คุ้มครองสูงสุด 120 ล้านบาท ต่อรอบปีกรมธรรม์ ครอบคลุมทั่วโลก¹ ดูแลทุกระดับการรักษา ควบคู่กับ AIA Multi-Pay CI Plus* ประกันโรคร้ายแรง คุ้มครอง และครอบคลุมทุกระดับการเจ็บป่วย ดูแลไปตลอดแม้ในยามฟื้นฟูร่างกาย โรคร้ายแรงไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
AIA Infinite Care (new standard) วงเงินความคุ้มครองสูงสุด 120 ล้านบาท ต่อรอบปีกรมธรรม์ ครอบคลุมการรักษาตั้งแต่การป้องกัน ตรวจเช็ก วินิจฉัยโรค บำบัดรักษา และฟื้นฟูสุขภาพ พร้อมมอบความคุ้มครองทั่วโลก¹ อีกระดับของความคุ้มครองสุขภาพจาก เอไอเอ ที่ช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษา เจ็บป่วยก็บินไปรักษาตัวที่ต่างประเทศได้ ครอบคลุมกรณีฉุกเฉิน และอุบัติเหตุในต่างแดน
AIA Multi-Pay CI Plus* ประกันโรคร้ายแรง เจอ จ่าย หลายจบ ครบถึงการดูแล พร้อมจ่ายผลประโยชน์ซ้ำ² หากตรวจพบโรคร้ายแรง³ ซ้ำอีกครั้ง รับความคุ้มครองรวมสูงสุด 800% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย4
ใหม่! ผลประโยชน์ภาวะวิกฤตที่มีผลต่อการดำรงชีวิต5 รับ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย จ่ายครั้งเดียวตลอดอายุสัญญา และผลประโยชน์การดูแลต่อเนื่องจากโรคร้ายแรง6 รับผลประโยชน์จ่ายครั้งเดียว 10% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย และผลประโยชน์ที่จ่ายเป็นรายเดือน เดือนละ 1.5% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ติดต่อกันรวมทั้งหมด 60 เดือน รวม 90% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย รวมผลประโยชน์สูงสุดทั้งหมด 1,000% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
สนใจสมัครประกันสุขภาพ AIA Infinite Care (new standard) ควบคู่ประกันโรคร้ายแรง AIA Multi-Pay CI Plus กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
* AIA Multi-Pay CI Plus (เอไอเอ มัลติเพย์ ซีไอ พลัส) เป็นชื่อทางการตลาดของสัญญาเพิ่มเติม AIA Multi-Pay CI (เอไอเอ มัลติเพย์ ซีไอ) คู่กับสัญญาเพิ่มเติม AIA Total Care (เอไอเอ โทเทิล แคร์)
¹ ขึ้นอยู่กับอาณาเขตความคุ้มครองที่เลือก
² การจ่ายผลประโยชน์ Relapsed CI แต่ละครั้งจะถูกนับและใช้สิทธิภายใต้จำนวนครั้งสูงสุด (6 ครั้ง) และจะไม่นำระยะเวลาห้ามเคลม (No claim period) มาพิจารณา
³ สำหรับ 3 โรคร้ายแรงระดับรุนแรง ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
4 กรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยันจากแพทย์ว่า เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง และหรือโรคร้ายแรงระดับรุนแรงตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จากสาเหตุและหรือเหตุการณ์เดียวกัน บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้สูงที่สุดเพียง 1 โรคเท่านั้น และให้รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้
● กรณีที่ 1 ผลการวินิจฉัย “โรคมะเร็งระยะลุกลาม” และ “โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม” ระบุว่า เกิดขึ้นที่อวัยวะเดียวกัน ข้างเดียวกัน และได้รับการรักษาหรือผ่าตัดในครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 2 การบาดเจ็บ “แผลไหมฉกรรจ์” และ “แผลไหมชนิดรุนแรงน้อย” ที่เกิดจากอุบัติเหตุครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 3 การเจ็บป่วยเป็น “โรคน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย” และ “การผ่าตัดฝังท่อระบายในโพรงสมอง” ซึ่งเป็นการรักษาครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 4 “การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือตาหนึ่งข้าง” และต่อมาผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับรุนแรงดังต่อไปนี้ “อัมพาตของกล้ามเนื้อ แขนหรือขา” หรือ “การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ” หรือ “การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง” หรือ “ตาบอด” โดยโรคร้ายแรงระดับรุนแรง ดังกล่าวเกิดจากสาเหตุเดียวกันกับ “การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือตาหนึ่งข้าง” ทั้งนี้ จะถือว่าการจ่ายผลประโยชน์ใน 4 กรณีนี้เป็นการจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรงในแต่ละกรณีเท่านั้น
5 MIB : Major Impact Benefit คุ้มครองการเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในห้องพักผู้ป่วยในวิกฤต (ICU) ของโรงพยาบาล เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วันติดต่อกัน อันเนื่องมาจากสาเหตุหรือการรักษาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) เข้ารับการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสลบแบบทั่วไป (General Anaesthesia) หรือการใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (Regional Anaesthesia) 2) การใช้เครื่องช่วยหายใจแบบสอดท่อหรือเจาะคอ
3) ภาวะล้มเหลวของอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ไต หรือ ตับอ่อน
หมายเหตุ :
– ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
– ผู้ขอเอาประกันภัยมีหน้าที่แถลงข้อความจริงในการขอเอาประกันภัย การปกปิดข้อความจริงหรือแถลงข้อความเป็นเท็จใด ๆ อาจเป็นเหตุให้บริษัทผู้รับประกันภัย บอกล้างสัญญาประกันภัยและปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
– ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
– รวบรวมข้อมูลโดยฝ่ายการแพทย์เอไอเอ ประเทศไทย ณ เดือนมิถุนายน 2566 โดยข้อมูลนี้ใช้สำหรับประมาณการค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น ค่ารักษาพยาบาลของแต่ละเคสอาจแตกต่างไปตามความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการรักษา และอัตราค่ารักษาของแต่ละโรงพยาบาล