สวัสดิการติดโต๊ะ
เพียงพอจริงไหมในยุคนี้?
มนุษย์เงินเดือนหลายคนมักคิดว่าการมีสวัสดิการติดโต๊ะ อย่างสวัสดิการประกันกลุ่ม ที่บริษัททำให้พนักงานทุกคนแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำประกันสุขภาพเพิ่มก็ได้ แต่นี่แหละคือหลุมพรางสำคัญ เพราะต้องไม่ลืมว่า ทุกสวัสดิการมีวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ หากเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ต้องใช้เวลารักษา วงเงินที่มีก็อาจไม่เพียงพอ หรือถ้าลาออกแล้ว สวัสดิการทั้งหมดก็จบลงไปพร้อมกัน ดังนั้นมนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องไม่ติดหลุมพรางนี้ และควรมีประกันสุขภาพส่วนตัวติดไว้สักเล่มจะดีที่สุด
โดยประกันสังคม จากสำนักงานประกันสังคม ที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนมี เป็นการออมเงินภาคบังคับที่รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันในการใช้ชีวิต มีความมั่นคงให้ครอบครัวและมีเงินเก็บส่วนหนึ่งเตรียมพร้อมใช้เพื่อการเกษียณ แต่เมื่อถึงคราวต้องใช้ขึ้นมา ก็อาจจะไม่เพียงพอ เพราะในยุคนี้แค่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) ในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ก็เฉลี่ยไปกว่า 3,500 – 4,500 บาท ต่อการรักษาหนึ่งครั้งแล้ว ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
ดังนั้นเมื่อชีวิตของเรายังต้องดำเนินต่อไป ยิ่งอายุมากขึ้น ร่างกายก็เริ่มเสื่อมถอย ไม่แข็งแรงเหมือนเก่า และไม่รู้ว่าจะเจ็บป่วยขึ้นมาวันไหน การมีประกันสุขภาพนอกเหนือจากสวัสดิการที่มีอยู่ ถือเป็นการวางแผนรับมือค่ารักษาพยาบาลในอนาคตไว้อีกทาง ทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาโดยไม่กระทบเงินเก็บของเรา รวมถึงคอยดูแลคุ้มครองให้อุ่นใจ และไม่ทิ้งให้เราต้องรับภาระจากค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วยเพียงลำพัง
ตัวเลือกที่ดีที่สุดของมนุษย์เงินเดือน คือ ควรจะมีทั้งสวัสดิการติดโต๊ะ และประกันสุขภาพส่วนตัวของตัวเองควบคู่ไปด้วยกัน เพื่อจะได้มั่นใจว่าหากเจ็บป่วยขึ้นมา จะได้ไม่ตัองกังวลกับค่ารักษาพยาบาล และทางที่ดีควรทำสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงไว้ด้วยจะดีที่สุด เพราะจะช่วยเบิ้ลความคุ้มครองให้เป็นเท่าตัว ถือเป็นแผนสำรองที่ดี ช่วยอุดช่องโหว่เรื่องสุขภาพในแบบที่สวัสดิการเข้าไม่ถึง
มาเริ่มต้นวางแผนเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อรับมือกับปัญหาสุขภาพตั้งแต่วันที่มีโอกาส เพราะถ้าเจ็บป่วยขึ้นมา แล้วสวัสดิการติดโต๊ะที่มีไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด ก็ไม่สามารถย้อนกลับมาทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้อีกต่อไป
มนุษย์เงินคนไหนสนใจ และกำลังมองหาประกันสุขภาพคุ้ม ๆ ค่าเบี้ยฯ เบา ๆ แต่ดูแลแบบครอบคลุม ขอแนะนำ AIA Health Saver ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย1 ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งกรณีผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) พร้อมเพิ่มความคุ้มครองเป็น 2 เท่า2 4 เมื่อตรวจพบ 6 โรคร้ายแรงยอดฮิต3 รวม 4 ปีกรมธรรม์ เหมาะที่สุดสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่อยากทำประกันสุขภาพของตัวเอง
ควบคู่ไปกับการทำสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง AIA Multi-Pay CI Plus ที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรง ครอบคลุมทุกการเจ็บป่วยจากโรคร้ายแรง พร้อมดูแลไปตลอดแม้ในช่วงฟื้นฟูร่างกาย รวมรับผลประโยชน์ สูงสุด 1,000%* ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
ใครที่กำลังลังเล อย่าตัดสินใจนาน การทำประกันสุขภาพ ควรวางแผนเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้พร้อมรับมือกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และที่สำคัญประกันสุขภาพไม่เพียงแค่ช่วยคุ้มครองเรื่องค่าใช้จ่ายในยามเจ็บป่วยเท่านั้น แต่เบี้ยประกันภัยที่จ่ายไป สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย เรียกว่าคุ้มสองต่อ ทั้งให้ความคุ้มครองสุขภาพที่มั่นใจ และวางใจได้ พร้อมรับสิทธิลดหย่อนภาษีที่คุ้มค่า
สนใจทำประกันสุขภาพกับ เอไอเอ กดติดต่อกลับเพื่อกรอกแบบฟอร์ม ให้ตัวแทนแนะนำแบบประกันที่เหมาะกับคุณ
* AIA Muti-Pay Ci Plus 1000% มาจากผลประโยชน์สูงสุด 800% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย จาก AIA Muti-Pay Ci และผลประโยชน์สูงสุด 200% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย จาก AIA Total Care
1 ผลประโยชน์เหมาจ่ายในบางรายการ เมื่อรวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต้องไม่เกินวงเงินต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง / รวมผลประโยชน์ในหมวดที่ 9 – 11 ต้องไม่เกินวงเงินต่อรอบปีกรมธรรม์
2 ผลประโยชน์สูงสุดเพิ่มเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรงครั้งแรก สำหรับ (1) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 2 และผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 3 – 6 และ 12 ต่อการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผลประโยชน์ในหมวดย่อยที่ 2.4 และ (2) ผลประโยชน์สูงสุดในหมวดที่ 9 – 11 ต่อรอบปีกรมธรรม์
3 โรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ 1) กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด 2) โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน 3) การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 4) โรคมะเร็งระยะลุกลาม 5) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก และ 6) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า
4 คำนวณจากเบี้ยประกันภัยรายปี 6,900 บาท สำหรับเพศชายอายุ 21 – 25 ปี แผนความคุ้มครอง 200,000 บาท
5 เป็นผลจากการบาดเจ็บหรือการป่วยแต่ละครั้ง โดยจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินผลประโยชน์ต่อรอบปีกรมธรรม์ตามที่ระบุไว้ในบันทึกสลักหลังผลประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก
6 เฉพาะแผนความคุ้มครอง 400,000 บาท คุ้มครอง 1,000 บาท/ครั้ง และแผนความคุ้มครอง 500,000 บาท คุ้มครอง 1,500 บาท/ครั้ง
7 การจ่ายผลประโยชน์ Relapsed CI แต่ละครั้งจะถูกนับและใช้สิทธิภายใต้จำนวนครั้งสูงสุด (6 ครั้ง) และจะไม่นำระยะเวลาห้ามเคลม (No claim period) มาพิจารณา
8 สำหรับ 3 โรคร้ายแรงระดับรุนแรง ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
9 กรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยันจากแพทย์ว่า เจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง และหรือโรคร้ายแรงระดับรุนแรงตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป จากสาเหตุและหรือเหตุการณ์เดียวกัน บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้สัญญาเพิ่มเติมนี้สูงที่สุดเพียง 1 โรคเท่านั้น และให้รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้
● กรณีที่ 1 ผลการวินิจฉัย “โรคมะเร็งระยะลุกลาม” และ “โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม” ระบุว่า เกิดขึ้นที่อวัยวะเดียวกัน ข้างเดียวกัน และได้รับการรักษาหรือผ่าตัดในครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 2 การบาดเจ็บ “แผลไหมฉกรรจ์” และ “แผลไหมชนิดรุนแรงน้อย” ที่เกิดจากอุบัติเหตุครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 3 การเจ็บป่วยเป็น “โรคน้ำไขสันหลังคั่งในโพรงสมองซึ่งเกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย” และ “การผ่าตัดฝังท่อระบายในโพรงสมอง” ซึ่งเป็นการรักษาครั้งเดียวกัน
● กรณีที่ 4 “การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือตาหนึ่งข้าง” และต่อมาผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงระดับรุนแรงดังต่อไปนี้ “อัมพาตของกล้ามเนื้อ แขนหรือขา” หรือ “การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ” หรือ “การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง” หรือ “ตาบอด” โดยโรคร้ายแรงระดับรุนแรง ดังกล่าวเกิดจากสาเหตุเดียวกันกับ “การสูญเสียแขนหรือขาหนึ่งข้างหรือตาหนึ่งข้าง” ทั้งนี้ จะถือว่าการจ่ายผลประโยชน์ใน 4 กรณีนี้เป็นการจ่ายผลประโยชน์ความคุ้มครองโรคร้ายแรงระดับรุนแรงในแต่ละกรณีเท่านั้น
10 MIB : Major Impact Benefit คุ้มครองการเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในห้องพักผู้ป่วยในวิกฤต (ICU) ของโรงพยาบาล เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วันติดต่อกัน อันเนื่องมาจากสาเหตุหรือการรักษาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 1) เข้ารับการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสลบแบบทั่วไป (General Anaesthesia) หรือการใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (Regional Anaesthesia) 2) การใช้เครื่องช่วยหายใจแบบสอดท่อหรือเจาะคอ 3) ภาวะล้มเหลวของอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ไต หรือ ตับอ่อน
11 CCB : Continuing Care Benefit คุ้มครอง 8 โรคที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างถาวรตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป ได้แก่ โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์, โรคพาร์กินสัน, โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว, โรคกล้ามเนื้อเสื่อม, ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง, การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง, การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ และการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
หมายเหตุ
– ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครอง รวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครองของผลิตภัณฑ์ประกันภัย และเงื่อนไขที่เอไอเอประกาศ ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
– ผู้ขอเอาประกันภัยมีหน้าที่แถลงข้อความจริงในการขอเอาประกันภัย การปกปิดข้อความจริงหรือแถลงข้อความเป็นเท็จใด ๆ อาจเป็นเหตุให้บริษัทผู้รับประกันภัย บอกล้างสัญญาประกันภัยและปฏิเสธไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
– ข้อกำหนดและเงื่อนไขของความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์
– เมื่อได้รับกรมธรรม์หรือหนังสือรับรองการประกันภัยแล้วโปรดศึกษารายละเอียด ข้อกำหนดและเงื่อนไขในกรมธรรม์หรือหนังสือรับรองการประกันภัย
– รายละเอียดและเงื่อนไขเป็นไปตามที่เอไอเอกำหนด ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง ยกเลิก แก้ไข รายละเอียดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางสื่อสารของเอไอเอ